พระพุทธเจ้ายืนยันว่า การใช้ปัสสาวะดูแลสุขภาพนั้นไม่มีโทษ : หมอเขียว

พระพุทธเจ้ายืนยันว่า การใช้ปัสสาวะดูแลสุขภาพนั้นไม่มีโทษ แสดงว่า ปัสสาวะ เป็นของสะอาด และเป็นของดี เป็นยารักษาโรคได้ จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ข้อความในพระไตรปิฎก ที่แสดงถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่ยืนยันว่า การใช้ปัสสาวะดูแลสุขภาพนั้นไม่มีโทษ แสดงว่า เป็นของสะอาด (ของสะอาดคือของที่ไม่มีโทษ ส่วนของสกปรกคือของที่มีโทษ) และเป็นของดี ไม่ใช่ของเสีย เพราะเป็นยารักษาโรคได้

จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ (สิ่งใดรักษาโรคได้หรือเป็นประโยชน์ สิ่งนั้นเป็นของดี ส่วนสิ่งใดก่อโรคได้หรือเป็นโทษ สิ่งนั้นเป็นของเสีย)

พระไตรปิฎก เล่ม 4 พระพุทธานุญาตให้บอกนิสสัย 4 ข้อ 143

1. บรรพชาอาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต. อติเรกลาภ คือภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวันปาฏิบท.
2. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต. อติเรกลาภคือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกมกัน.
3. บรรพชาอาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต.อติเรกลาภ คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.
4. บรรพชาอาศัยมูตรเน่า (ปัสสาวะ) เป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต. อติเรกลาภคือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

พระไตรปิฎก เล่ม 21 สันตุฏฐิสูตร ข้อ 27

[27] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย 4 อย่างนี้ ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ปัจจัย 4 อย่างเป็นไฉน คือ บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร ทั้งน้อยหาได้ง่าย และหาโทษมิได้ 1 บรรดาโภชนะ คำข้าวที่หาได้ด้วยปลีแข็ง ทั้งน้อยหาได้ง่าย และหาโทษมิได้ 1 บรรดาเสนาสนะ รุกขมูล ทั้งน้อย หาได้ง่ายและหาโทษมิได้ 1 บรรดาเภสัช (ยา) มูตรเน่า (ปัสสาวะ) ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ 1 …

พระไตรปิฎก เล่ม 25 จัตตาริสูตร ข้อ 281

[281] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย น้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ 4 อย่างนี้ 4 อย่าง เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาจีวร ผ้าบังสุกุล น้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ บรรดาโภชนะ คำข้าวที่ได้ด้วยปลีแข้ง น้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษบรรดาเสนาสนะ โคนไม้ น้อยหาได้ง่ายและไม่มีโทษ บรรดาเภสัช (ยา) มูตรเน่า (ปัสสาวะ) น้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ …

พระไตรปิฎกเล่ม 5 พระพุทธานุญาตยามหาวิกัฏ 4 อย่าง ข้อ 43

[43] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏ 4 อย่าง คือ คูถ มูตร (ปัสสาวะ) เถ้า ดิน ต่อมา ภิกษุทั้งหลายคิดสงสัยว่า ยามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับประเคน ในเมื่อมีกัปปิยการก (ผู้ปฏิบัติภิกษุเรื่องปัจจัยสี่) เมื่อกัปปิยการกไม่มี ให้ภิกษุหยิบบริโภคเองได้…

พระไตรปิฎก เล่ม 12 อุปมา 5 ข้อ ข้อ 532

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่า (ปัสสาวะ) อันระคนด้วยยาต่างๆ.(ปะปนหรือเต็มไปด้วยยาต่างๆ) บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า

ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่าง ๆ นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น…

พระไตรปิฎก เล่ม 25 โลกสูตร ข้อ 293

[293] พระตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใดและย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแลไม่เป็นอย่างอื่น (ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย)

พระไตรปิฎก เล่ม 11

[108] เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจตราอรรถ (สาระประโยชน์) ด้วยอรรถ (สาระประโยชน์) พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น โดยวิธีที่พรหมจรรย์ (ความพ้นทุกข์ ความบริสุทธิ์จากกิเลส) นี้ จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย …

[109] ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิต (คำกล่าว) ของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารี นั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่า นั้น ฯ (หมู่มิตรดีร่วมกันตรวจสอบพิสูจน์อรรถและพยัญชนะนั้น)

พระไตรปิฎก เล่ม 11 ข้อ 108-109

เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจตราอรรถ (สาระประโยชน์) ด้วยอรรถ (สาระประโยชน์) พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น โดยวิธีที่พรหมจรรย์ (ความพ้นทุกข์ ความบริสุทธิ์จากกิเลส) นี้ จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย…
[109] ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิต (คำกล่าว) ของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารี นั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่า นั้น ฯ (หมู่มิตรดีร่วมกันตรวจสอบพิสูจน์อรรถและพยัญชนะนั้น)

พระไตรปิฎก เล่ม 20 “เกสปุตตสูตร” ข้อ 505 กาลามสูตร 10

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อย่าเชื่อถืออะไรง่ายๆ
1. อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินมา
2. อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่เล่าสืบต่อกันมา
3. อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวลือ
4. อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา
5. อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง
6. อย่าได้เชื่อถือ โดยการคาดคะเน
7. อย่าได้เชื่อถือ โดยนึกคิดตามอาการ
8. อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าตรงกับความเห็นของตน
9. อย่าได้เชื่อถือ โดยลักษณะของผู้พูดน่าเชื่อถือ
10. อย่าได้เชื่อถือ โดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

หากปฏิบัติธรรมเหล่านี้แล้วเกิดอกุศล (ชั่ว) ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ควรละธรรมเหล่านี้เสีย หากปฏิบัติธรรมเหล่านี้แล้วเกิดกุศล (ดี) เกื้อกูล เป็นสุข ควรเข้าถึงธรรมเหล่านี้อยู่

อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
22 กันยายน 2562
Houston USA