น้ำปัสสาวะรักษาโรค ยาดีที่ทรงคุณค่า แต่ถูกบดบัง
พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะในพระไตรปิฏก ซึ่งนักวิชาการหรือคนประเภทที่หลงคิดว่าตัวเองเก่งสุด เรียนมามาก ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์รู้มากกว่านั้น ถ้าคนไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้า จะไม่เชื่อเรื่องน้ำปัสสาวะเลย
ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทรนุโพธา (รู้ตามได้ยาก) ปณีตา (ประณีตไปตามลำดับไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นดำมิได้) นิปณา (ละเอียดลึกซึ้ง) ปัณทิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิตเท่านั้น)
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องน้ำปัสสาวะไว้ใน นิสสัย 4 คือ เครื่องอาศัยของนักบวช หรือ สิ่งที่นักบวชพึงปฏิบัติ เพื่อการยังชีพ ประกอบด้วย
1. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์
2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ เก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม
3. นอนโคนไม้ ที่ที่เรียบง่าย
4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร(ปัสสาวะ)
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ปัสสาวะ ประกอบไปด้วย น้ำบริสุทธิ์ 95% ยูเรีย 2.5% และอื่นๆ อีก 2.5% แม้จะไม่มีโทษร้ายแรง แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์
ขนาดสิ่งที่ไม่ดีอย่าง ผงชูรส น้ำอัดลม เหล้า บุหรี่ ซึ่งรู้จักกันดีว่ามีโทษ ยังเลิกยากเลย หรือแม้แต่อาหารรสจืด ที่เป็นประโยชน์ คนทั่วไปยังทำได้ยากเลย แล้วน้ำปัสสาวะที่เป็นประโยชน์ แต่เขาหลงว่าเป็นโทษ จะกินลงไหม ?
คนทั่วไป หลงสุขปลอม ไปสร้างตัณหา อุปาทานขึ้นมา ไปหลง อยากได้ ก็เป็นทุกข์ใจ ได้สมใจอยาก ลดทุกข์ชั่วคราว เวียนวนและเหนี่ยวนำคนอื่นให้เป็นตาม พอไม่ได้ กลัวไม่ได้สมใจ ก็เป็นทุกข์
การที่จะเข้าใจได้ว่าน้ำปัสสาวะเป็นประโยชน์ จะต้องผ่านด่านการกินอาหารรสจืดให้ได้เสียก่อน ไม่งั้นจะไม่มีทางเข้าใจ ขนาดสิ่งที่ไม่ดีอย่าง ผงชูรส น้ำอัดลม เหล้า บุหรี่ ซึ่งรู้จักกันดีว่ามีโทษ ยังเลิกยากเลย หรือแม้แต่อาหารรสจืด ที่เป็นประโยชน์ คนทั่วไปยังทำไม่ค่อยจะได้เลย แล้วนับประสาอะไรกับ น้ำปัสสาวะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์ แต่เขาหลงว่า น้ำปัสสาวะเป็นโทษ จะกินลงไหม ? เขาจะเชื่อไหม ? หากเราปฎิบัติโดยเริ่มจากกินอาหารรสจืด ไม่กินอาหารรสจัด ลดกิเลส ปฏิบัติศีล5 เป็นไปลำดับๆ จะทำให้เกิดปัญญา ดังนั้น การใช้น้ำปัสสาวะเป็นองค์ความรู้ของผู้มีปัญญาเท่านั้น